วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554







วิธีการนวดเต้านม







                       การบีบนวดเต้านม  เพื่อกระตุ้นกลไกน้ำนมพุ่ง (Milk ejection reflex) เป็นกลไกลสำคัญในการบีบน้ำนมในท่อน้ำนมฝอยและเนื้อต่อมนมให้พุ่งออกจนหมดเพราะการที่น้ำนมหลั่งออกมาจนหมดจะช่วยทำให้มีการสร้างน้ำนมขึ้นมาใหม่

ขั้นตอนที่  1
                     วางมือทั้งสองบริเวณด้านบนของเต้านม  แล้วกดมือทั้งสองลงบนหน้าอกจากนั้นใช้มือลูบลงมาตามด้านข้างของเต้านม ใช้แรงกดสม่ำเสมอ

ขั้นตอนที่  2 
                   เมื่อลูบถึงฐานของเต้านมให้หมุนฝ่ามือโดยให้นิ้วชี้หันเข้าใต้ฐานเต้านม  หัวแม่มืออยู่ด้านบน   และนิ้วอื่นๆ  อยู่บริเวณฐานของเต้านม

ขั้นตอนที่  3
                    ลูบมือทั้งสองออกจากหน้าอกไปตามแนวเต้านม  โดยนิ้วมือทั้งหมดไม่สัมผัสหัวนมและลานรอบหัวนมเลย  ขณะที่นวดให้ช้อนเต้านมขึ้นเล็กน้อย ควรนวดข้างละ 10 ครั้ง ทุกวัน
                    เคล็ดลับสำหรับการนวด  ก่อนเริ่มต้นนวดควรล้างมือและซอกเล็บให้สะอาดทุกครั้ง  และใช้ครีมหรือโลชั่นเพื่อช่วยให้ฝ่ามือลื่น นวดได้ง่าย และเนื้อครีมยังช่วยให้บริเวณเต้านมยืดหยุ่นได้ดีอีกด้วย

การคลึงรอบหัวนม

                     การคลึงรอบหัวนม  เพื่อช่วยให้หัวนมตั้งชันขึ้นหรือยื่นออกมาทำให้ลูกงับหัวนมได้ดีขึ้น
ขั้นตอนที่  1
                   วางหัวแม่มือและนิ้วชี้รอบลานหัวนม  บีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหาหัวนมพร้อมกับกดลงบนหน้าอก  หัวนมจะตั้งชันดีขึ้น

ขั้นตอนที่  2
                  ประคองเต้านมด้วยมือข้างหนึ่งอีกข้างใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับหัวนม  แล้วคลึงหัวนมกลับไปกลับมาพร้อมกับดึงหัวนมขึ้นเบาๆ  ทำเช่นนี้ทุกครั้งหลังนวดเต้านมทุกวัน  โดยเฉพาะผู้มีหัวนมบอดหรือหัวนมหลบเข้าข้างในจะช่วยให้หัวนมยื่นออกมาได้มาก
                 ควรเริ่มนวดเต้านมและหัวนมทันที  เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนด 8 เดือน ทำทุกวันภายหลังอาบน้ำหรือก่อนนอนจนกว่าจะถึงวันคลอด

การบีบน้ำนม

                  การบีบโคลอสตรัม (Colostrum) ซึ่งเป็นหัวน้ำนมที่หลั่งออกจากเต้านมในครั้งแรกจะช่วยให้การหลั่งโคลอสตรัมและน้ำนมสะดวกขึ้นภายหลังคลอดทั้งยังเป็นการกระตุ้นท่อน้ำนมให้มีความยืดหยุ่นได้ดีอีกด้วย

วิธีปฏิบัติ

                มือหนึ่งประคองเต้านม อีกมือวางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บนลานหัวนมตรงขอบด้านนอกแล้วกดลง จากนั้นเปลี่ยนตำแหน่งที่กดจนครบรอบลานหัวนม  ใช้สำลีเช็ดแต่ละข้างให้สะอาด  ไม่ควรล้างด้วยสบู่ เพราะอาจทำลายน้ำหล่อเลี้ยงธรรมชาติที่หลั่งออกมาเพื่อป้องกันหัวนมแตกได้
                การใช้ครีมสำหรับบำรุงผิวบริเวณหัวนมจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวได้ดียิ่งขึ้นทำให้หัวนมและบริเวณผิวรอบหัวนมอ่อนนุ่มให้ทาครีมเฉพาะบริเวณลานรอบหัวนมไม่ควรทาเข้าไปในรูหัวนม
                หลังคลอด  ทารกจะช่วยดูดน้ำนมออกแทนการบีบน้ำนม  จึงไม่ควรบีบน้ำนมออก แต่ถ้ามีน้ำนมมากเกินไปทำให้อึดอัด  การบีบน้ำนมออกบ้างจะช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

การเก็บน้ำนมแม่

                 
                    
                     การบีบน้ำนมแม่เก็บเผื่อไว้สำหรับลูกในยามที่คุณแม่ต้องไปทำงานหรือออกไปทำธุระนอกบ้าน  จะช่วยทำให้ลูกยังคงได้รับนมแม่อย่างเพียงพอน้ำนมแม่ที่บีบออกมาใหม่ๆ  มีเซลล์ที่หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง  หลังจากบีบนมแม่ออกมาแล้งจะต้องเก็บรักษาด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามแนวทางที่ให้ไว้  จะช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมแม่ได้ต่อเนื่องก่อประโยชน์สูงสุดแก่ลูกน้อย


               วิธีปฏิบัติ
                       ล้างมือให้สะอาด  บีบน้ำนมออกโดยวางหัวแม่มือบนลานหัวนม  นิ้วชี้หรอนิ้วกลางอยู่ด้านล่างโดยให้ห่างจากหัวนม 1 ½ นิ้ว คอยๆ  เลือนนิ้วหัวแม่มือมาด้านหน้า  กดนิ้วเข้าเข้าหากันให้น้ำนมไหลออกลงสู่ขวดนมที่นึ่งหรือต้มจนปราศจากเชื้อ ซึ่งควรเป็นพลาสติกแข็งหรือแก้วที่ต้มฆ่าเชื่อโรคแล้วประมาณ 10 นาที

                      หลังจากบีบน้ำนมแม่ใส่ขวดนม  ควรปิดฝาให้แน่นปริมาณน้ำนมที่เก็บควรให้เท่ากับปริมาณที่ลูกจะกินในแต่ละมื้อถ้าได้มากก็แยกเก็บไว้ในขวดนมหลายๆ  ขวด แล้วปิดป้ายบอกวันที่  เวลา และจำนวนที่เก็บ  เพื่อนำมาให้ลูกได้กินตามลำดับ  โดยน้ำนมที่เก็บไว้ก่อนนำมาให้ลูกกินก่อน

ข้อควรคิดเกี่ยวกับระยะเวลาของการเก็บนมแม่ไว้ใช้
                       อุณหภูมิห้องธรรมดา  เก็บได้นาน     6   ชั่วโมง
                       ตู้เย็นช่องธรรมดา       เก็บได้นาน   48   ชั่วโมง
                       ตู้เย็นช่องแช่แข็ง         เก็บได้นาน     3    เดือน  



วิธีการนำน้ำนมแม่มาใช้


                    นำขวดนมออกจากตู้เย็น  แล้วแกว่งขวดนมในอ่างน้ำอุ่นเท่านั้นไม่ควรต้ม  ไม่ควรอุ่นน้ำนม  หรือใส่ในไมโครเวฟ  เพราะความร้อนจะทำลายโปรตีนและเอนไซม์ในน้ำนมแม่  เมื่อน้ำนมละลายแล้วให้ใช้ภายใน  24  ชั่วโมง  หลังนำออกจากตู้เย็น


วิธีดึงหัวนมออกจากปากลูก

          ก่อนจะดึงหัวนมออกควรให้ลูกหยุดดูดนมก่อน  แล้วจึงดึงหัวนมออกจากปากลูกโดยสอดนิ้วก้อยเข้าไปที่มุมปากลูกพอลูกอ้าปากคุณแม่สามารถดึงหัวนมออกได้โดยง่าย  และไม่ทำให้หัวนมแตก

                                            
วิธีเตรียมนมผสม



           นมแม่  เป็นอาหารที่เหมาะกับการเจริญเติบโตสำหรับลูกมากที่สุด  เพราะมีสารภูมิต้านทานเชื้อโรคซึ่งจะมีปริมาณมากที่สุดใช่วง 2-3  วันแรก คุณแม่จึงควรให้ลูกดูดนมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้   แต่คุณแม่บางท่านอาจไม่มีโอกาสให้นมลูกเนื่องจากต้องทำงานนอกบ้าน  หรือน้ำนมน้อยเกินไป หรือน้ำนมไม่ไหลออกมาเมื่อถึงเวลาให้  จึงจำเป็นต้องพึ่งนมผสมการให้นมผสม  มีวิธีการเตรียมดังต่อไปนี้

1.        อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม  ขวดนม  จุกนม  ปากคีบ  และอุปกรณ์อื่นๆ  ที่ต้องใช้ในการเตรียมนม โดยเก็บไว้ด้วยกัน
2.       ฆ่าเชื้อโรค  โดยให้ต้มอุปกรณ์ที่ทนความร้อนในน้ำเดือดประมาณ 10 นาที แต่อุปกรณ์ที่ทนต่อความร้อนไม่ได้นั้น  ให้ใช้ผ้าขาวบางหรือผ้าโปร่งๆ  ห่อไว้แล้วต้มน้ำเดือดประมาณ 5 นาที  กรณีที่ใช้ยาฆ่าเชื้อโรค  ควรใช้ตามข้อกำหนดฉลาก
3.       ใส่น้ำสุกอุ่นลงในขวดนม  ใช้น้ำต้มเดือดที่ทิ้งไว้ลงในขวดนมประมาณสองในสามส่วน
4.       ใส่นมผง  ใช้ช้อนตวงนมผงตามอัตราส่วนที่ติดมาในกระป๋อง  แล้วเติมน้ำร้อนจนได้ปริมาณตามอัตราส่วนที่ต้องการใส่ลงขวดแล้วเขย่าให้เข้ากัน
5.       ปิดจุกนมและวัดอุณหภูมิ  ปิดจุกขวดนมแล้วทดสาอบดูว่าน้ำนมไหลดีหรือไม่  โดยต้องระวังไม่ให้จุกนมสัมผัสกับมือ  และตรวจอุณหภูมิของนมให้เท่าอุณหภูมิของร่างกาย(37องศา)โดยลองหยุดลงบนแขนด้านใน
6.       ทำการให้นม  คุณแม่ควรอุ้มลูกในท่าที่สบายๆ  เพื่อให้ลูกดูดเอาฟองอากาศเข้าไปด้วย
7.       ลูบหลังให้ลูกเรอ  คุณแม่ควรอุ้มลูกพาดไหล่และลูบหลังให้เบาๆ  หลังจากให้นมเสร็จแล้วเพื่อให้ลูกเรอเอาอาศออกมา  ช่วยให้ลูกไม่อึดอัดหรือแน่นท้อง
8.       ทำความสะอาดอุปกรณ์  ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ทุกชิ้นให้สะอาด หากมีนมเหลือควรทิ้งไป อย่าเก็บไว้ด้วยความเสียดาย