วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

การเก็บน้ำนมแม่

                 
                    
                     การบีบน้ำนมแม่เก็บเผื่อไว้สำหรับลูกในยามที่คุณแม่ต้องไปทำงานหรือออกไปทำธุระนอกบ้าน  จะช่วยทำให้ลูกยังคงได้รับนมแม่อย่างเพียงพอน้ำนมแม่ที่บีบออกมาใหม่ๆ  มีเซลล์ที่หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง  หลังจากบีบนมแม่ออกมาแล้งจะต้องเก็บรักษาด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามแนวทางที่ให้ไว้  จะช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมแม่ได้ต่อเนื่องก่อประโยชน์สูงสุดแก่ลูกน้อย


               วิธีปฏิบัติ
                       ล้างมือให้สะอาด  บีบน้ำนมออกโดยวางหัวแม่มือบนลานหัวนม  นิ้วชี้หรอนิ้วกลางอยู่ด้านล่างโดยให้ห่างจากหัวนม 1 ½ นิ้ว คอยๆ  เลือนนิ้วหัวแม่มือมาด้านหน้า  กดนิ้วเข้าเข้าหากันให้น้ำนมไหลออกลงสู่ขวดนมที่นึ่งหรือต้มจนปราศจากเชื้อ ซึ่งควรเป็นพลาสติกแข็งหรือแก้วที่ต้มฆ่าเชื่อโรคแล้วประมาณ 10 นาที

                      หลังจากบีบน้ำนมแม่ใส่ขวดนม  ควรปิดฝาให้แน่นปริมาณน้ำนมที่เก็บควรให้เท่ากับปริมาณที่ลูกจะกินในแต่ละมื้อถ้าได้มากก็แยกเก็บไว้ในขวดนมหลายๆ  ขวด แล้วปิดป้ายบอกวันที่  เวลา และจำนวนที่เก็บ  เพื่อนำมาให้ลูกได้กินตามลำดับ  โดยน้ำนมที่เก็บไว้ก่อนนำมาให้ลูกกินก่อน

ข้อควรคิดเกี่ยวกับระยะเวลาของการเก็บนมแม่ไว้ใช้
                       อุณหภูมิห้องธรรมดา  เก็บได้นาน     6   ชั่วโมง
                       ตู้เย็นช่องธรรมดา       เก็บได้นาน   48   ชั่วโมง
                       ตู้เย็นช่องแช่แข็ง         เก็บได้นาน     3    เดือน  



วิธีการนำน้ำนมแม่มาใช้


                    นำขวดนมออกจากตู้เย็น  แล้วแกว่งขวดนมในอ่างน้ำอุ่นเท่านั้นไม่ควรต้ม  ไม่ควรอุ่นน้ำนม  หรือใส่ในไมโครเวฟ  เพราะความร้อนจะทำลายโปรตีนและเอนไซม์ในน้ำนมแม่  เมื่อน้ำนมละลายแล้วให้ใช้ภายใน  24  ชั่วโมง  หลังนำออกจากตู้เย็น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น